GuidePedia
l

0
โซเดียม จะจับกับคลอไรด์ในเลือด ค่าปกติจะอยู่ระหว่าง 135-145 mEq/L โซเดียมเป็นแร่ที่สำคัญของร่างกาย ทำงานร่วมกับคลอไรด์ในการรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย รักษาระดับความดันโลหิต และการทำงานของระบบประสาท ภาวะโซเดียมต่ำ Hyponatremia หรืออีกชื่อคือ water intoxication ซึ่งเกิดจากการที่เราดื่มน้ำมากหลังจากการออกกำลังโดยได้รับเกลือไม่เพียงพอ
สาเหตุ
  1. ภาวะเกลือโซเดียมต่ำจากการที่ร่างกาย มีปริมาณน้ำมากไปซึ่งอาจจะเกิดจากโรคหรือภาวะดังต่อไปนี้
  • ไตวายซึ่งไตไม่สามารถขับน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย
  • หัวใจวาย
  • SIADH (syndrome of inappropriate anti-diuretic hormone) เกิดจากร่างกายผลิตฮอร์โมน anti-diuretic hormone (ADH) มากไปทำให้ร่างกายมีการคั่งของน้ำ
  • ดื่มน้ำมากไปในขณะที่ร่างกายสูญเสียทั้งน้ำ และเกลือ
  1. ร่างกายมีการสูญเสียเกลือมากกว่าน้ำ เช่น
  • การเสียเหงื่อจากการออกกำลังมาก และนาน
  • การอาเจียน
  1. โรคหรือภาวะพบร่วมกับโซเดียมต่ำ
  • ตับแข็ง
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย
โรคที่มักจะพบว่ามีภาวะโซเดี่ยมในเลือดต่ำ
  • ยาบางชนิดทำให้เกิดภาวะโซเดี่ยมต่ำได้แก่ยา ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAID ยาต้านโรคซึมเศร้า
  • ยาขับปัสสาวะทั้งหลาย
  • โรคตับแข็ง
  • โรคไตวาย
  • โรคหัวใจวาย
  • ดื่มน้ำเปล่ามากเกินไปในขณะออกกำลังกาย
  • ภาวะที่มีการหลั่งฮอร์โมน anti-diuretic hormone (ADH) เกิดภาวะ Syndrome of inappropriate anti-diuretic hormone (SIADH)
  • ต่อมหมวกไตทำงานน้อน (Addison's disease).
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (hypothyroidism).
  • โรคอาเจียน หรือท้องร่วงเรื้อรัง
  • ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่

อาการของภาวะเกลือ sodium ต่ำได้แก่

  • คลื่นไส้อาเจียน
  • สับสน
  • เพลียไม่มีแรง
  • กระสับกระส่าย
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเป็นตะคริว
  • ชักหมดสติ
  • โคม่า
หากท่านมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะนี้ และเกิดอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะโซเดี่ยมในเลือดต่ำได้แก่
  • อายุพบว่าผู้สูงอายุจะมีภาวะนี้บ่อยเนื่องจากมีโรคประจำตัว ซึ่งจะทำให้เกลือแร่ในร่างกายเสียสมดุล
  • ยา ยาหลายชนิดจะทำให้เกิดภาวะโซเดี่ยมต่ำได้แก่ ยาขับปัสสาวะ ยาต้านโรคซึมเศร้า
  • มีโรคประจำตัวเช่น โรคไต โรคตับ
  • อาหาร รับประทานอาหารจืดเป็นประจำจะเพิ่มความเสี่ยง
  • การออกกำลังกายอย่างหนัก และดื่มน้ำมาก
  • อากาศร้อนจะทำให้ร่างกายเสียเหงื่อมาก
โรคแทรกซ้อน
  • ผู้ที่โซเดี่ยมต่ำเรื้อรังระดับโซเดี่ยมจะค่อยๆต่ำ อาการจะค่อยเป็น
  • ส่วนผู้ที่ต่ำแบบเฉียบพลันอาจจะมีอาการสมองบวมและเสียชีวิต
การวินิจฉัย
การรักษา
  • การรักมุ่งเน้นที่ต้นเหตุ
  • หากรับประทานอาหารจืดมากก็อาจจะแนะนำให้รับเกลือเพิ่มเป็นบางโอกาศ
  • หากเกิดจากยาขับปัสสาวะแพทย์จะแนะนำให้หยุดยาขับปัสสาวะสักระยะหนึ่ง
หากเกิดโวเดี่ยมต่ำเฉียบพลัน แพทย์จะเติมเกลือโซเดี่ยมทางน้ำเกลือ
การป้องกัน
  • รักษาโรคต้นเหตุเช่นให้ฮอร์โมนกับผู้ที่ต่อมหมวกไตทำงานน้อย
  • สำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโซเดี่ยมต่ำจะต้องเรียนรู้อาการของโซเดี่ยมต่ำ
  • สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายหนักก็ไม่ควรจะดื่มน้ำเปล่าเกิด 1 ลิตร

Post a Comment

[video]youtubeorvimeovideolink[/video]
[img]yourimagelink[/img]

 
Top