GuidePedia
l

0


คลอไรด์
----------------------
คลอไรด์ เป็นเกลือแร่ตัวหนึ่งที่มีอยู่ในสารน้ำที่อยู่นอกเซลล์มากที่สุด ปกติเกลือแร่ในร่างกายจะอยู่ในน้ำและแตกตัวเป็นประจุ เราสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. ชนิดที่มีประจุบวก ได้แก่ โซเดียม โปแตสเซียม แคลเซียม
2. ชนิดที่มีประจุลบ ได้แก่ คลอไรด์ ไบคาร์บอเนต


ปกติคลอไรด์มีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้อง กับการทำงานของระบบต่างๆ ได้แก่
1. การปรับความสมดุลของน้ำในร่างกาย
2. การปรับความเป็นกรด - ด่างในร่างกาย
3. มีส่วนช่วยในระบบการควบคุมความดัน โลหิต
4. เป็นส่วนประกอบของกรดในกระเพาะ อาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อย อาหารในร่างกาย เป็นต้น



ระดับปกติของคลอไรด์ในเลือด ของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
Cl- = 98 - 106 มิลลิโมล / ลิตร


ภาวะที่มีระดับคลอไรด์ในเลือดต่ำ
1. อาเจียนรุนแรง
2. ท้องร่วงรุนแรง
3. ถูกไฟลวกรุนแรง
4. มีไข้สูง เป็นต้น

ภาวะที่มีระดับคลอไรด์ในเลือดสูง
1. ภาวะขาดน้ำ
2. กินอาหารที่มีรสเค็มจัด
3. ไตล้มเหลวเรื้อรัง
4. การได้รับน้ำเกลือทางหลอดเลือด
เป็นเวลานาน เป็นต้น

ร่างกายได้รับคลอไรด์จากอาหาร ผู้ใหญ่ควรได้รับปริมาณคลอไรด์ประมาณวันละ 700 มิลลิกรัม โดยทั่วไป ร่างกายมักจะได้รับคลอไรด์ในรูปของเกลือเป็นส่วนใหญ่ การ รับประทานอาหารที่มีความเค็มสูง พบว่ามีความ สัมพันธ์กับการเกิดภาวะความดันโลหิตสูงและการรับประทานอาหารที่มีเกลือต่ำจะ ลดความเสี่ยงของการเกิด
ภาวะความดันโลหิตสูง

Post a Comment

[video]youtubeorvimeovideolink[/video]
[img]yourimagelink[/img]

 
Top