GuidePedia
l

0

ฟอสฟอรัส ต้องสมดุลกับ แคลเซียม ถ้าอันไหนมาก จะทำให้อีกอันน้อยลงต้องมี สมดุลกันร่างกายจะปกติ

ถ้าฟอสฟอรัสในเลือดสูง มักมีอาการคันผิวหนังแคลเซียมขาดเพราะต้องใช้แคลเซียมมาลดฟอสฟอรัสมาก มีรอยคล่ำที่ผิวหนังเนื่องจากแคลเซียมเกาะ

ฟอสฟอรัส (Phosphorus) หรือ ฟอสเฟต (Phosphate)

ระบบฟอสฟอรัสในเลือด ปกติอยู่ที่ 5.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

มีอยู่ในร่างกายประมาณ 1% ของน้ำหนักตัว จำเป็นในการสร้างกระ ดูกและฟันร่วมกับแคลเซียม มีอยู่ในผู้ชายประมาณ 670 กรัม ในผู้หญิงประมาณ 680 กรัม และประมาณ 85 - 90% อยู่ในสภาพของผลึก แคลเซียมฟอสเฟต ที่ไม่ละลาย นอกจากนี้ฟอสฟอรัสยังเป็นธาตุที่อยู่ในเซลล์ทุกเซลล์ทั่วร่างกาย เป็นสารที่จำเป็นสำหรับการเพิ่มจำนวนเซลล์ การเคลื่อนไหวของเซลล์และการรักษาระดับของเหลวในเนื้อเยื่อต่างๆ รวมทั้งเป็นส่วนประกอบของสารเคมีที่สำคัญๆ ในร่างกาย เช่น ฟอสโฟ ไลปิด โปรตีน เอนไซม์ โคเอนไซม์ และสารเก็บพลังงานไว้ได้สูง ในเลือด 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีฟอสฟอรัส 35 - 45 มิลลิกรัม (ในเลือด แคลเซียมมักอยู่ในน้ำเลือด แต่ฟอสฟอรัสส่วนใหญ่อยู่ในเม็ดเลือดแดง)
...
หน้าที่ของฟอสฟอรัส
1. ควบคุมการปล่อยพลังงานจากการเผาไหม้หรือการ oxidation ของคาร์โบไฮเดรท ไขมันและโปรตีนจะมีพลังงานเกิดขึ้น ฟอสฟอรัสจะควบคุมการปล่อยพลังงานนี้
2. ส่งเสริมการดูดซึมและการลำเลียงของสารอาหาร เพราะว่า ฟอสเฟตจะเกาะติดอยู่กับสารต่าง ๆ หลายชนิด เป็นจำพวกน้ำตาลชั้นเดียวภายในเซลล์ ในกระบวนการที่เรียกว่า ฟอสโฟริลเลชั่น (phosphorylation) ซึ่งปรากฏในการดูดซึมจากลำไส้ปล่อยจากกระแสเลือด เข้าสู่ของเหลวในเซลล์และเก็บเข้าสู่เซลล์ ไขมันที่ไม่ละลายในน้ำจะส่งเข้าสู่กระแสโลหิตในสภาพของฟอสโฟไลปิด (phospholipid) ซึ่ง เป็นการรวมตัวของฟอสเฟตกับไขมันช่วยไขมันละลายได้มากขึ้น เมื่อกลับโคเจนถูกปล่อยออกจากตับหรือกล้ามเนื้อ เพื่อมาใช้เป็นพลังงานจะ ปรากฏในลักษณะส่วนประกอบของฟอสโฟริลเลทกลูโคส (phosphorylated glucose)

3. เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายอยู่ในวิตามินและในสภาพที่ทำหน้าที่ได้ดี เช่น thiamine pyrophosplate และเอ็นไซม์ ส่วนใหญ่เป็นโปรตีน และเป็นจำนวนมากมีส่วนของฟอสฟอรัส
4. การเกาะตัวของฟันและกระดูก พบว่า หากการเกาะตัวของกระดูกล้มเหลว เป็นผลเนื่องมาจากการขาดแคลนฟอสฟอรัส เช่นเดียว กับขาดแคลเซียม
ในผู้ที่ระดับของฟอสฟอรัสในร่างกายต่ำผลของการขับถ่ายฟอสฟอรัสในปัสสาวะมากกว่าการได้รับอาหารที่มีฟอสฟอรัสไม่เพียงพอ
...
การดูดซึมและการเผาผลาญ
โดย ปกติฟอสฟอรัสในอาหารต้องดูดซึมหมดในสภาพของ free phosphate ปริมาณที่ถูกดูดซึมจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปริมาณ ของเหล็ก แมกนีเซียมและสารอื่นๆ ซึ่งจะรวมตัวกันเป็นสารที่ไม่ละลายและถูกขับออกทางอุจจาระฟอสฟอรัสในอาหาร ที่ไม่ถูกดูดซึมประมาณ 30% การควบคุมระดับของฟอสฟอรัสกระทำโดยการขับออกทางไตมากกว่าการดูดซึม
ปัจจัย ในการเผาผลาญแคลเซียมและฟอสฟอรัสชนิดเดียวกัน พาราไทรอยด์ควบคุมระดับแคลเซียมในเลือด มีผลต่อระดับ ฟอสฟอรัส ในเลือดและอัตราการซึมออกจากไต วิตามินดี ซึ่งส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากทางเดินอาหาร พร้อมกันนี้เพิ่ม อัตราการซึม กลับของฟอสฟอรัสจากไตด้วย ในลักษณะเช่นนี้ ระดับของเคลเซียมและฟอสฟอรัสที่ต้องการ เพื่อการเกาะของกระดูกจะสูงขึ้น เช่นเดียวกับ แคลเซียม คือ ฟอสฟอรัสจะถูกปล่อยและสร้างใหม่ในเนื้อเยื่อกระดูก พบว่าฟอสฟอรัสที่ส่วนเคลือบฟันแลกเปลี่ยนกับฟอสฟอรัส ในน้ำลาย และ ฟอสฟอรัสในส่วนเนื้อฟันจะแลกเปลี่ยนกับส่วนในเลือดที่มาเลี้ยง
...
การบริโภคฟอสฟอรัส
ฟอสเฟต ดูเหมือนไม่ค่อยมีความสำคัญเพราะในอาหารที่มีแคลเซียมมักมีฟอสเฟตอยู่ด้วย เสมอ การบริโภคฟอสเฟตมากเกินไปจะขัดขวางการทำงานของแคลเซียมได้ นมและผักใบเขียวมีแคลเซียมมากกว่าฟอสเฟต เนื้อ ปลา สัตว์ปีก มีฟอสเฟตมากแต่มีแคลเซียมน้อย เครื่อง ดื่มคาร์บอเนตหรือน้ำอัดลม (เช่น โค้ก เป๊บซี) มีฟอสฟอรัสอยู่มาก ดังนั้นผู้ที่ดื่มพวกนี้เป็นประจำควรดูแลเกี่ยวกับแคลเซียมด้วย


อ้างเพิ่มเติม
file PDF จากมูลนิธิ

Post a Comment

[video]youtubeorvimeovideolink[/video]
[img]yourimagelink[/img]

 
Top