การกินยาลดความดัน ควรตรวจเช็คค่าของ แร่ธาตุต่างๆในร่างกายเราก่อนว่ามี มากหรือน้อยอย่างไหง เพื่อให้หมอดูว่า กินยาลดความดัน ชนิดไหนดีมีผลต่อร่างกาย น้อยที่สุด
กลุ่มยาลดความดันโลหิต
- ยาลดความดันโลหิตมีหลายกลุ่ม ออกฤทธิ์ต่างกัน โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่ายาชนิดไหนเหมาะกับท่าน ดังนั้นท่านไม่ควรรับประทานยาตามผู้อื่น
- ผู้ป่วยควรวัด และบันทึกความดันโลหิตในแต่ละช่วงเวลาตลอดทั้งวัน เพื่อให้แพทย์สามารถปรับยาให้เหมาะสมแก่สภาพความดันโลหิตได้
- การรับประทานยาความดันโลหิตควรกินให้ตรงเป็นเวลา เพื่อที่ระดับของยาความดันในกระแสเลือดจะได้คงที่ หากลืมกินยาลดความดัน ให้กินทันทีที่นึกได้ เว้นแต่เวลาล่วงเลยไป จนใกล้เวลามื้อถัดไป ก็ให้งดยามื้อที่ลืมกิน และให้กินยามื้อถัดไปในขนาดเท่าเดิม
- อาการข้างเคียงของยาลดความดันโลหิต
ผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันโลหิตครั้งแรก หรือได้รับการเพิ่มยาหรือลดยา ควรสังเกตความผิดปกติของร่างกาย เช่น หน้ามืด เป็นลม ใจสั่น เป็นต้น และควรเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ลุกขึ้นนั่ง หรือ ลุกขึ้นยืนอย่างช้า ๆ หากมีอาการ หน้ามืด เป็นลม ใจสั่น ให้หยุดกิจกรรมต่าง ๆ นั่งพักสักครู่จนกว่าอาการจะดีขึ้น ถ้าเกิดอาการอย่างนี้บ่อย ๆ หรือรุนแรง ให้ติดต่อแพทย์ทันทีเพื่อจะได้หยุดยาหรือปรับยาได้
-กลุ่มยาลดความดันและอาการข้างเคียง
ตัวอย่างยา
|
อาการไม่พึงประสงค์ของยาที่พบได้บ่อย
|
แคปโตพริล(คาร์โปเทน)
อินาลาพริล(อินาริล,แอนนาพริล) |
-ไอแห้ง ๆ
-ภาวะโพแตสเซียมในเลือดสูง |
โลร์ซาร์แทน(โคซาร์)
|
-ภาวะโพแตสเซียมในเลือดสูง
|
เมโทรโปรอล(เบต้าลอค)
อะทีโนลอล(พรีโนลอล,ทีโลลอล) |
-มีอาการอ่อนเพลีย
-หัวใจเต้นช้าลง -การหยุดยาทันทีทันใดทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงอย่างมาก |
ฟูโรเซไมด์(ลาซิก)
|
-ภาวะโพแตสเซียมในเลือดต่ำ
-การควบคุมน้ำตาลในเลือดทำได้ยากขึ้น -ภาวะกรดยูริคในเลือดสูง-ภาวะไขมันในเลือดสูง -เป็นพิษต่อหู ทำให้การได้ยินลดลง |
นิฟิดิปีน(อะดาแลต,นิลาปีน)
แอมโลดิปีน(นอร์วาส,แอมโลปีน) เฟโลดิปีน(เพลนดิล) |
-ใจสั่น
-ข้อเท้าบวม -เหงือกโต |
เวอราพามีน(ไอซอฟติล)
ดิลไทอะเซม(เฮอร์เบสเซอร์) |
-ท้องผูก
-ข้อเท้าบวม -หัวใจเต้นช้าลง |
ด๊อกซาโซซิน(คาร์ดูล่า)
พราโซซิน(มินิเพรส) เทอราโซซิน(ไฮทริล) |
-หน้ามืด ในช่วงที่ได้รับยาช่วงแรก ๆ
-เวียนศรีษะ -ใจสั่น |
ไฮดราราซีน(อะเพรสโซลีน)
|
-เวียนศรีษะ
-ใจสั่น |
ไมน๊อกซิดิล(โลนิเทน)
|
-ใจสั่น
-ขนขึ้นตามตัว ใบหน้า |
-การรับประทานยาในวันฟอกเลือด
ถ้าในขณะฟอกเลือดหรือชั่วโมงท้าย ๆ ของการฟอกเลือด ความดันของผู้ป่วยลดลงมาก แพทย์ก็อาจจะสั่งให้งดรับประทานยาความดันก่อนฟอกเลือด หรือให้งดยาความดันบางตัวก็ได้
Post a Comment
[video]youtubeorvimeovideolink[/video]
[img]yourimagelink[/img]