GuidePedia
l

0

แคลเซียมมีไว้ในร่างกายเพื่อ 
แคลเซียมเป็นเกลือแร่ที่มีปริมาณมากที่สุดในร่างกาย กระบวนการหลายอย่างในร่างกายเกี่ยวข้องกับ แคลเซียมในเซล เช่น การทำงานของเอนไซม์ในร่างกาย, การกระตุ้น receptor, การหดตัวของกล้ามเนื้อ, การหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ, การรวมตัวของเกล็ดเลือด แคลเซียมมีส่วนสำคัญในด้าน neuromuscular function และความแข็งแรงของกระดูก 50% ของแคลเซียมใน ECF จะจับอยู่กับ albumin อีก 50% จะเป็น active form (ionized form) ระดับของแคลเซียมในเลือดจะถูกควบคุมโดย พาราไทรอยด์ ฮอร์โมน และวิตามิน D  อยู่ในระดับปกติ  แคลเซียมจะออกฤทธิ์ต้านกับโพแทสเซียมและแมกนีเซียมในเยื่อหุ้มเซล ดังนั้นจึงสามารถนำไปใช้รักษาภาวะ hyperkalemia และ hypermagnesemia ได้


ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia)
คือภาวะที่ total serum calcium มากกว่า 10.5 mEq/L  (หรือ ionized calcium > 4.8 mg/dL) สาเหตุส่วนใหญ่ (>90%) เกิดจาก primary hyperparathyrodism และ malignancy
     ซึ่งเกิดจากมีแคลเซียมที่มาจากกระดูกและลำไส้เพิ่มสูงขึ้น และมีการขับแคลเซียมทางไตลดน้อยลง
อาการของ hypercalcemia มักแสดงออกเมื่อ ระดับของ total serum calcium > 12 ถึง 15 mg/dL
อาการโดยทัวไป
อาการทางระบบประสาทประกอบด้วย อาการซึมเศร้า, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, อ่อนเพลีย และสับสน  หรืออาจมีอาการเห็นภาพหลอน, disorientation, hypotonicity, ชัก และโคมาได้ ภาวะ hypercalcemia จะรบกวนการทำงานของไตในการ concentrate urine ทำให้เกิด diuresis และเกิดภาวะ dehydration ได้

อาการทาง cardiovascular system มีหลายรูปแบบ ประกอบด้วย การเพิ่มขึ้นของ myocardial contractility และจะลดลงเมื่อระดับ serum calcium เกิน 15 mg/dL ถ้าระดับแคลเซียมสูงกว่านี้จะกดการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ เกิดการลดลงของ automaticity และ การสั้นลงของ ventricular systole เกิดการเต้นของหัวใจผิดจังหวะเนื่องจากมีการสั้นลงของ refractory period
ภาวะ hypercalcemia อาจทำให้ ภาวะ digitalis toxicity รุนแรงขึ้น และอาจจะเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่มีภาวะ hypercalcemia อาจเกิดภาวะ hypokalemia ตามมาได้ ซึ่งทั้ง 2 ภาวะนี้ทำให้เกิด cardiac arrhythmia ทำให้ QT interval สั้นลงถ้า serum calcium > 13 mg/dL และอาจมี prolonged PR และ QRS intervals หรืออาจเกิด atrioventricular block แล้วกลายเป็น complete heart block และ cardiac arrest ได้ ถ้าระดับ serum calcium ในเลือด มากกว่า 15 – 20 mg/dL

อาการทางระบบทางเดินอาหาร ของภาวะ hypercalcemia  ประกอบด้วย กลืนลำบาก, ท้องผูก, แผลในกระเพาะอาหาร และตับอ่อนอักเสบ ผลต่อไต ประกอบด้วย ลดความสามารถในการ concentrate urine เกิด diuresis ทำให้เสียโซเดียม, โพแทสเซียม, แมกนีเซียม และ ฟอสเฟต ทางไตมากขึ้น ทำให้เกิดการดูดซึมแคลเซียมจากทางเดินอาหารและแคลเซียมปล่อยจากกระดูกมาก ขึ้นตามมา ซึ่งเป็นผลรวมทำให้ภาวะ hypercalcemia แย่ลง

ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia)คือภาวะที่ระดับแคลเซียมในเลือดต่ำกว่า 8.5 mg/dl (หรือ ionized calcium < 4.2 mg/dl) ภาวะ hypocalcemia อาจเกิดร่วมกับ toxic shock syndrome, ความผิดปกติของ serum Mg 2+ หลังผ่าตัดต่อมไทรอยด์, fluoride poisoning, และ tumor lysis syndrome (การมี cell turnover เร็วทำให้เกิดภาวะ hyperkalemia, hyperphosphatemia, และ hypocalcemia)

อาการของภาวะ hypocalcemia มักเกิดเมื่อ ระดับ Serum Ca 2+ < 2.5 mg/dl ซึ่งประกอบด้วย paresthesia ของใบหน้าและ แขนขา ตามด้วยอาการตะคริว, carpopedal spasm, stridor, tetany และ seizure  ในผู้ป่วยที่มีภาวะ hypocalcemia จะมีภาวะ hyperreflexia และ positive Chvostek และ Trousseau signs  ผลต่อหัวใจจะมีการลดการบีบตัว ของกล้ามเนื้อหัวใจ และเกิด heart failure ได้ ภาวะ hypocalcemia ทำให้กระตุ้นการเกิดภาวะDigitalis toxicity ได้

Post a Comment

[video]youtubeorvimeovideolink[/video]
[img]yourimagelink[/img]

 
Top