GuidePedia
l

0




ธาตุโพแทสเซียม (Potassium) ประโยชน์ในการลดความดันโลหิต

มาทำความรู้ จักโพแทสเซียม

โพแทสเซียม (potassium) เป็นแร่ธาตุที่มีมากเป็นอันดับ 3 ในร่างกาย รองจากแคลเซียมและฟอสฟอรัส โพแทสเซียมเป็นอิเล็กโตรไลต์ซึ่งเป็นตัวปรับสมดุลของประจุบวกหรือลบในเลือด โซเดียมกับคลอไรด์ก็เป็นอิเล็กโตรไลต์เช่นกัน ร่างกายของเราต้องได้รับแร่ธาตุทั้ง 3 ชนิดนี้ในปริมาณที่สมดุลจึงจะทำหน้าที่ต่างๆ ได้ดี โพแทสเซียมเกือบทั้งหมดในร่างกายจะอยู่ในเซลล์ต่างๆ

ประโยชน์ของโพแทสเซียม
  1. โพแทสเซียมและอิเล็ก โตรไลต์ชนิดอื่นๆ ช่วยในการนำกระแสประสาท ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว ช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจและความดันเลือด โพแทสเซียมยังควบคุมปริมาณของเหลวภายในเซลล์ ขณะที่โซเดียมควบคุมปริมาณของเหลวภายนอกเซลล์ แร่ธาตุ 2 ชนิดนี้จึงทำงานร่วมกันเพื่อรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย
  2. นอกจากนี้โพแทสเซียม ยังช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนน้ำตาล (กลูโคส) ในเลือด ไปเป็นพลังงานสะสม (ไกลโคเจน) ในกล้ามเนื้อและตับ โพแทสเซียมเป็นสารขับปัสสาวะธรรมชาติ จึงช่วยขับสารพิษที่เกิดจากการเผาผลาญพลังงานด้วย
  3. โพแทสเซียม จะทำงานร่วมกับ ธาตุโซเดียม ในการควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกายและช่วยทำให้หัวใจเต้นเป็นปกติ โดยความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจ อาจส่งผลให้ขาดโพแทสเซียมได้ หากโพแทสเซียมและโซเดียมในร่างกายเสียสมดุลจะทำให้การทำงานของเส้นประสาทและ กล้ามเนื้อเสียไป ไฮโปไกลซีเมีย (ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ) จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมได้ เหมือนกับการอดอาหารเป็นเวลานาน ท้องร่วงอย่างรุนแรง



ผลของการกินโปแตสเซียมในการลดความดันโลหิตสูง
The recommended daily intake of potassium for an average adult is about 4,700 milligrams per day.
มี หลายการศึกษายืนยันว่า คนที่ได้รับโพแทสเซียมจากอาหารมากขึ้น จะมีผลต่อการลดความดันเลือดต่ำกว่าคนที่ได้รับในปริมาณน้อยมาก จากการ review 19 clinical trials พบว่า  จากคนไข้ 586 ราย (412 of whom had essential hypertension). ผลการทดลองออกมาแสดงว่าการกิน potassium supplements มีผลอย่างมากในการลดความดัน systolic blood pressure [-5.9 mmHg, -6.6 to -5.2 mmHg (mean, 95% confidence interval)] และลด diastolic blood pressure (-3.4 mmHg, -4.0 to 2.8 mmHg).

ผลจากการวิเคราะห์เราสามารถสรุปได้ว่า การกินโปแตสเซียมเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยในการลดความดันในรายคนไข้ที่เป็น โรคความดันแบบ essential hypertension แต่การกินมากเกินไปก้อจะมีผลข้างเคียงตามมาด้วย ดังนั้นปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรของคุณก่อนนะครับ






แหล่งที่พบโพแทสซียมตามธรรมชาติ
ได้แก่ โยเกิร์ต ผลไม้รสเปรี้ยว กล้วย ลูกพีช มันฝรั่ง แคนตาลูป มะเขือเทศ ผักวอเตอร์เครส ผักใบเขียวทุกชนิด สะระแหน่ เมล็ดทานตะวัน ถั่ว เป็นต้น Dผลเสียของการรับประทานโพแทสเซียมเกินขนาด ร่างกายอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ หากรับประทานในปริมาณตั้งแต่ 18 กรัมขึ้นไป และโรคจากการขาดโพแทสเซียม ได้แก่อาการบวม และภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (ไฮโปไกลซีเมีย)
สำหรับศัตรูของธาตุโพแทสเซียม ก็ได้แก่ น้ำตาล กาแฟ แอลกอฮอล์ และยาขับปัสสาวะ
คำแนะนำในการรับประทานโพแทสเซียม
  • โพแทสเซียมในรูปแบบอาหารเสริม มักพบได้ในรูปแบบของวิตามินรวมและแร่ธาตุรวม
  • เกลือโพแทสเซียม อินทรีย์ประกอบไปด้วย กลูโคเนต ซิเทรต ฟูเมเรต และเกลือโพแทสเซียมอนินทรีย์ จะประกอบไปด้วย ซัลเฟต คลอไรด์ ออกไซด์ คาร์บอเนต
  • คุณสามารถหาซื้อแบบ แยกเป็นโพแทสเซียม ซิเทรต กลูโคเนต คลอไรด์ ได้ในขนาดประมาณ 600 mg. ซึ่งจะมีโพแทสเซียมผสมอยู่ประมาณ 100 mg. โดยรูปแบบที่แนะนำคือ ไกลซิเนตโพแทสเซียมซิเทรต
  • ยังไม่มีขนาดที่แนะนำ ให้รับประทานในแต่ละวัน แต่โดยทั่วไปแล้วขนาดตั้งแต่ 1,600 – 2,000 mg. ต่อวันถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับผู้ใหญ่ผู้ที่สุขภาพแข็งแรง
  • สำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำและมีอาการอ่อนล้า อาจเกิดจากการสูญเสียโพแทสเซียมเพราะกาแฟ
  • สำหรับผู้ที่ชอบรับประทานของหวานและชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ระดับของโพแทสเซียมในร่างกายอาจจะต่ำได้
  • สำหรับผู้ที่กำลังลด ความอ้วนด้วยการรับประทานประเภทคาร์โบไฮเดรตน้อย จะส่งผลให้ระดับโพแทสเซียมในร่างกายลดลง ซึ่งจะส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดอาการอ่อนล้าหรือตอบสนองช้า
  • หากระดับโพแทสเซียมใน ร่างกายมากเกินไปจะถูกไตขับออกมา และสำหรับผู้ที่ไตทำงานได้ไม่ดีก็ไม่ควรรับประทานโพแทสเซียมเสริมในปริมาณ ที่สูงมากจนเกินไป
แหล่งอ้างอิง :
D E Grobbee and A Hofman,
Does sodium restriction lower blood pressure?, Br Med J (Clin Res Ed). 1986 July 5; 293(6538): 27–29., http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1340776/
Cappuccio FP, MacGregor GA., Does potassium supplementation lower blood pressure? A meta-analysis of published trials.J Hypertens. 1991 May;9(5):465-73., http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1649867
Potassium and High Blood Pressure, http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/HighBloodPressure/PreventionTreatmentofHighBloodPressure/Potassium-and-High-Blood-Pressure_UCM_303243_Article.jsp
ประโยชน์ของโพแทสเซียม ,http://www.readersdigestthailand.co.th/potassium#sthash.V63RzaXr.dpuf
หนังสือวิตามินไบเบิล (ดร.เอิร์ล มินเดลล์), http://www.greenerald.com/ธาตุโพแทสเซียม/




Post a Comment

[video]youtubeorvimeovideolink[/video]
[img]yourimagelink[/img]

 
Top