GuidePedia
l

0
 

ค่าปกติ คือ 3.5-5.0 mEq/L
การประเมินระดับโพแทสเซียมในเลือด ขึ้นกับภาวะความเป็นกรดด่างในเลือดด้วย เมื่อระดับ pH ของเลือดลดลง ระดับโพแทสเซียมในเลือดจะเพิ่มขึ้นเพราะโพแทสเซียมเคลื่อนที่ออกจากเซลเข้า สู่กระแสเลือด เมื่อระดับ pH ในเลือดสูงขึ้น ระดับโพแทสเซียมในเลือดจะลดลง เพราะโพแทสเซียมเคลื่อนกลับเข้าสู่เซล เนื่องจากระดับ pH ในเลือดมีผลต่อระดับโพแทสเซียมดังนั้นจึงควรให้ความสนใจในขณะทำการรักษาภาวะ โพแทสเซียมสูงหรือต่ำ และในระหว่างการรักษา ภาวะใดก็ตามที่มีการเปลี่ยนแปลงระดับ pH ในเลือด (เช่น การรักษาภาวะ diabetic ketoacidosis)  โพแทสเซียม มีหน้าที่ปรับสมดุลของเกลือแร่และเลือด ให้กับระบบกล้ามเนื้อต่างๆ แขนขาของร่างกาย
[1] โพแทสเซียมต่ำ ...
 ระดับโพแทสเซียมในเลือด น้อยกว่า 3.5 mEq/L ถ้าผู้สู้อายุ ต้อง 4.5 mEq/L  โพแทสเซียมก็คือเกลือแร่ชนิดหนึ่ง

อาการ  หรือภาวะ hypokalemia   จะทำให้เกิด  การอ่อนเพลีย (เป็นได้ทั้งสูงและต่ำ, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, ท้องผูก, ตะคริว หายใจลำบาก


ต่ำรุนแรง    จะมีผลกระทบที่สำคัญต่อการทำงานของระบบ ประสาท กล้ามเนื้อ โดยอาจทำให้เกิดอัมพาตชั่วคราว ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ และหายใจลำบาก จะมีผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยมีการเปลี่ยนแปลง EKG คือ มี U wave, T wave flattening, หัวใจเต้นผิดจังหวะโดยเฉพาะ ventricular arrhythmias, pulseless electrical activity (PEA) หรือ asystole ก็สามารถเกิดได้

สาเหตุที่ต่ำ   มีหลายสาเหตุ ส่วนเป็น การสูญเสียโพแทสเซียมออกทางปัสสาวะ หรือทางลำใส้ ทางเดินอาหาร เช่น อาเจียน ท้องเสีย ภาวะการขาดสารอาหาร Alcoholism ภาวะที่มี ฮอร์โมน aldosterone (แอกอฮอ) มาก ภาวะเลือดเป็นด่าง และ ภาวะไตวาย การได้รับยาบางชนิดที่มีผลทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำ เช่น ยาขับปัสสาวะ กลุ่ม thiazide และ furosemide ยา amphotericin B หรือเลืดดมีภาวะเป็นด่างมากไป  หรือถ้าคุณดื่มน้ำด่างมากไป เกินอาการแขนขาออน่แรง มักเป็นกับผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่  หรือโรคไตที่ต้องกินยาคุมโพแทสเซียม โรคนิ่วในไต โรคไทรอยด์เป็นพิษ
กรณีสูดดมสารละเหย โทลูอีนในปริมาณมากเกิน    สารอันตราย โทลูอีน

  [2] โพแทสเซียมสูง
 ภาวะ hyperkalemia คือการมีระดับความเข้มข้นของโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่า 5 mEq/L แต่ส่วนใหญ่จะมีอันตรายถึงชีวิตถ้าระดับโพแทสเซียมสูงกว่า 6-7 mEq/L (รุนแรงปานกลาง) และมากกว่า 7 mEq/L (รุนแรงมาก) ซึ่งจำเป็นต้องให้การรักษาอย่างเร่งด่วน
ภาวะ hyperkalemia มักพบบ่อยในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย หรือยาบางชนิดทำให้เกิดภาวะนี้ได้ การหาสาเหตุของภาวะ hyperkalemia ได้อย่างรวดเร็ว จะทำให้นำไปสู่การรักษาที่ทันท่วงที

อาการและอาการแสดง ที่พบในภาวะ hyperkalemia คือ อ่อนเพลีย, อัมพาต และ ภาวะการหายใจล้มเหลว และการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ โดยจะพบ peaked T wave (tenting) และถ้าระดับโพแทสเซียมยังสูงขึ้นต่อไปอีก จะพบ flattened P waves, prolonged PR interval (1st degree AV block), widened QRS complex, deepened S wave  และ merging of S and T wave ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาจะกลายเป็น sine – wave pattern, idioventricular rhythms และ asystolic cardiac arrest ได้





Post a Comment

[video]youtubeorvimeovideolink[/video]
[img]yourimagelink[/img]

 
Top