GuidePedia
l

0


ค่าต่างๆที่เป็นผลออกมาหลังจากตรวจไขมัน

HDL; HDL-C (High-density lipoprotein cholesterol) ไขมันชนิดดี
การตรวจวัดค่า HDL-c เป็นการวัดปริมาณไขมันชนิดดี เนื่องจาก HDL-c เป็นตัวนำพาไขมันคลอเลสเตอรอล (cholesterol) จากส่วนต่างๆของร่างกายที่ไม่ได้ใช้ หรือสารพิษไปกำจัดที่ตับ หรือโดยปกติ คลอเลสเตอรอล สำคัญกับการสร้าง สเตียรอยด์ฮอร์โมนและจำเป็นในเซลล์ต่างๆของร่างกาย แต่หากปริมาณสูงจะไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด และหาก HDL-c ต่ำ ไม่เพียงพอต่อการนำไขมันคลอเลสเตอรอลในร่างกายโดยเฉพาะที่เกาะผนังหลอดเลือด ยังคงอยู่ ไปกำจัดที่ตับได้และนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ

การตรวจ HDL-c สามารถบ่งชี้ถึงความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease, CHD) และสมอง ที่ส่งผลให้หัวใจขาดเลือดและเกิดอาการแสดงต่างๆ ตามมาจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นการวัดค่า HDL-c เป็นการตรวจที่สำคัญในการประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และเป้าหมายการรักษาในการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูงได้ นอกเหลือจากการวัดค่าไขมันชนิดร้าย (LDL-c)

ตรวจบ่อยแค่ไหน ปกติการเจาะตรวจ HDL-c จะตรวจพร้อมๆกับค่าตรวจไขมันอื่นๆ เช่น ไขมันรวม (total cholesterol: TC), ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides:TG), ไขมันชนิดร้าย (LDL-c) โดยปกติในผู้ใหญ่สุขภาพดีตรวจทุก 5 ปี หรือหากมีความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจอาจมีการสั่งตรวจพร้อมๆ กับการติดตามค่า LDL-c โดยที่ให้งดอาหารก่อนเจาะเลือด 12 ชม. [สามารถทานน้ำได้ปกติ]


ค่าน้อย
HDL-c น้อยกว่า 40 mg/dL ในผู้ชาย
HDL-c น้อยกว่า 50 mg/dL ในผู้หญิง
ค่าปกติ
HDL-c 40-50 mg/dL ในผู้ชาย
HDL-c 50-59 mg/dL ในผู้หญิง
ค่าที่เหมาะสม
HDL-c มากกว่า 60 mg/dL ในผู้ชายและผู้หญิง


LDL, LDL-c (Low-density lipoprotein cholesterol )
การตรวจวัดค่า LDL-c เป็นการวัดปริมาณไขมันชนิดร้าย เพื่อประเมินภาวะโรคไขมันในเลือดเนื่องจาก LDL-c เป็นตัวนำพาไขมันคลอเลสเตอรอล (cholesterol) ไปส่วนต่างๆของร่างกาย โดยปกติ คลอเลสเตอรอล สำคัญกับการสร้าง สเตียรอยด์ฮอร์โมนและจำเป็นในเซลล์ต่างๆของร่างกาย แต่หากร่างกายมี LDL-c ปริมาณสูงเกินความจำเป็น LDL-c จะนำพาไขมันคลอเลสเตอรอล จะไปเกาะอยู่ที่หลอดเลือดทั่วร่างกาย จนในที่สุดอุดตัดหลอดเลือด นำไปสูโรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมองตามมา

การตรวจค่า LDL-c สามารถบ่งชี้ถึงอันตรายและความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ(coronary heart disease, CHD) และสมอง ที่ส่งผลให้หัวใจขาดเลือดและเกิดอาการแสดงต่างๆ ตามมาจนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นการวัดค่า LDL-c และนำไปสู่การแก้ไขจึงเป็นเป้าหมายหลัก ในการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง และเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเป็นอย่างแรกในการลดระดับไขมันในเลือด

การวัดค่า LDL-c สามารถวัดได้จากการคำนวณ (calculated, calc.) จากผลของการวัดค่าไขมันทั้งหมด ที่ผ่านการงดอาหารก่อนเจาะเลือด 12 ชม. [สามารถทานน้ำได้ปกติ] คือ ไขมันรวม (total cholesterol: TC), ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides:TG) และ ไขมันชนิดดี (high-density lipoprotein cholesterol: HDL-c) แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ค่าการตรวจไตรกลีเซอไรด์ ต้องไม่สูงเกินกว่า 400 mg/dL
มิฉะนั้นผลการตรวจ LDL-c จากการคำนวณผิดพลาดได้
ซึ่งคำนวณจาก LDL = TC - (HDL + TG/5)
แต่หากมีค่าไตรกลีเซอไรด์ สูงเกินกว่า 400 mg/dL หรือ ต้องการตรวจเฉพาะ LDL-c เท่านั้น สามารถตรวจได้โดยตรงที่เรียกว่า Direct-LDL-c โดยไม่ต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือด


TG; TRIG (Triglycerides) ไตรกลีเซอไรด์ 
เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจได้ ไขมันไตรกลีเซอไรด์นี้ จะถูกขนส่งโดย VLDL จากตับไปในเลือดเพื่อให้พลังงานแก่กล้ามเนื้อ แต่ส่วนใหญ่หากร่ายกายยังไม่ต้องการใช้พลังงาน VLDL จะส่งไปสู่เนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue) เก็บไว้เป็นพลังงานให้กับร่างกายต่อไป หากร่างกายได้รับจากอาหารทุกชนิดปริมาณมาก เช่น อาหารไขมัน แป้ง และแอลกอฮอล์มากเกินความจำเป็นของร่างกาย ก็จะมี ไตรกลีเซอไรด์หรือไขมันไปเก็บที่เนื้อเยื่อไขมัน ปริมาณมาก ซึ่งมาพร้อมกับโรคอื่นๆ ตามมา เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เนื่องจากอาหารที่รับประทานและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆ จึงนำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจตามมา สิ่งที่อันตรายตามมาก็คือ ตัว VLDL ที่ขนส่ง TG ไปสู่เนื้อเยื่อไขมันแล้วนั้น จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้เป็น LDL ต่อไป ซึ่งส่งผลให้นำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจที่เกี่ยวโยงกันนั้นเอง ไตรกลีเซอไรด์ แตกต่างจาก คลอเลสเตอรอลอย่างไร

ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันที่นำไปใช้เป็นพลังงานให้ร่างกาย โดยเก็บสะสมไว้ที่เซลล์ไขมัน แต่คลอเลสเตอรอล เป็นไขมันที่ไว้สร้าง สเตียรอยด์ฮอร์โมนและจำเป็นในเซลล์ต่างๆของร่างกาย ไม่ได้ไว้เป็นพลังงานให้กับร่างกายแต่อย่างใด

ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยเฉพาะผู้ที่มีปริมาณมากเกินความจำเป็น ดังนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายรองจากการตรวจวัด LDL-c เพื่อที่จะควบคุมให้เป็นไปตามเป้าหมายเพื่อลดการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจในอนาคต

การวัดค่า TG ต้องงดอาหาร ก่อนเจาะเลือดนาน 12 ชม. และแอลกอฮอล์ควรงด 24 ชม.ก่อนเจาะเลือด [สามารถทานน้ำเปล่าได้ตามปกติ]

 ค่า TG ปกติ [งดอาหาร ก่อนเจาะเลือดนาน 12 ชม.]
            ปกติ           ค่าน้อยกว่า    150 mg/dL
            เกือบสูง     ค่าช่วง           150 - 199 mg/dL
            สูง              ค่าช่วง           200 - 499 mg/dL
            สูงมาก       มากกว่า         500 mg/dL
  
ค่าสูงผิดปกติ
1. สาเหตุการเพิ่มขึ้นของระดับไตรกลีเซอไรด์
• ภาวะอ้วน หรือน้ำหนักเกิน
• ไม่ออกกำลังกาย
• สูบบุหรี่
• การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
• รับประทานมากเกินกว่าการนำพลังงานไปใช้ในแต่ละวัน
• มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานโดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้, ไทรอยด์ต่ำ, โรคไตเรื้อรัง, โรคไตเนโฟรติก (nephrotic syndrome)
• การได้รับยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์, เอสโตรเจน, ยาคุมกำเนิด และยาอื่นๆ ดังนั้นหากกำลังได้รับยาหรือสมุนไพรใดๆอยู่ ควรแจ้งแพทย์เพื่อประเมินแนวทางการรักษาต่อไป
• พันธุกรรม (Genetic factors)

ความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจ ดังนี้
• สูบบุหรี่
• อายุของท่าน [ผู้ชายอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 45 ปี หรือ ผู้หญิงอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 55 ปี]
ค่าตรวจไขมันชนิดดี (HDL-c) น้อยกว่า 40 mg/dL
• ท่านมีโรคความดันในเลือดสูง [คือ ค่าความดันมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mm/Hg หรือรับประทานยาลดความดันอยู่]
• มีประวัติครอบครัว [พ่อแม่พี่น้องสายเลือดเดียวกัน] เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ โดยเพศชายอายุต่ำกว่า 55 ปี หรือเพศหญิงอายุต่ำกว่า 65 ปี
• ท่านมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ (coronary heart disease)
• ท่านเป็นเบาหวานอยู่
2. แนวทางการรักษา
• ผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง โดยเฉพาะ ค่ามากกว่า 200 mg/dL ขึ้นไป พิจารณาให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้
o ออกกำลังกายเพิ่มการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เช่น การออกกำลังกาย การเดินเร็ว ซึ่งควรเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมในแต่ละบุคคล
o ลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ไขมัน และอาหารทุกชนิดที่มากเกินต่อวัน
o พร้อมตรวจติดตามระดับไตรกลีเซอไรด์ ตามแพทย์สั่งเพื่อประเมินแนวทางการรักษาต่อไป
• ลดหรืองดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อระดับไตรกลีเซอไรด์สูง และลดปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ ตามข้อมูลข้างต้น
• หากระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมากกว่า 500 mg/dL อาจจะต้องพิจารณาได้รับยาเพื่อลดระดับไตรกลีเซอไรด์ลง เนื่องจากอาจจะนำไปสู่ภาวะตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันได้ (acute pancreatitis) ดังนั้นพิจารณาพบแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษาซึ่งในกรณีนี้แพทย์อาจต้องรักษา ก่อนการรักษาการลดระดับ LDL-c
ข้อควรทราบ

1. หากมีข้อสงสัยให้สอบถามแพทย์หรือเภสัชกร
2. เกณฑ์ความเสี่ยงในเด็กหรือในวัยรุ่นอาจมีความแตกต่างจากในผู้ใหญ่ ดังนั้นพิจารณาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเด็ก
3. หากค่า ไตรกลีเซอไรด์สูง ควรพิจารณาตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) เนื่องจากค่อนข้างสัมพันธ์กัน
4. การรักษาภาวะระดับไขมันสูง จะพิจารณาการลดระดับ LDL-c ก่อนเสมอ ยกเว้นกรณีที่ค่าไตรกลีเซอไรด์สูงเกิน 500 mg/dL




Total cholesterol  คลอเลสเตอรอล [Total cholesterol]
เป็นสารที่สำคัญของร่างกาย ประกอบด้วย ไขมันชนิดดี [HDL-c], ไขมันชนิดร้าย [LDL-c] และ ไขมัน VLDL เมื่อมีปริมาณพอเหมาะไม่มากเกินไป นั้นคือเป็นองค์ประกอบเยื่อหุ้มเซลล์ทั่วร่างกาย เป็นวัตถุดิบให้ร่างกายผลิตน้ำดี (Bile) เพื่อใช้ในการย่อยอาหารประเภทไขมัน และดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ, ดี, อี และ เค นอกจากนั้น ร่างกายยังนำ คลอเลสเตอรอลไปใช้ในการผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และฮอร์โมนเพศอีกด้วย แต่หากร่างกายมีปริมาณคลอเลสเตอรอลมากเกินไป ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย โดยที่ คลอเลสเตอรอลจะไปสะสมเกาะตามผนังหลอดเลือด และสามารถอุดตันหลอดเลือด เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองตามมา
การตรวจ Total chloresterol สำคัญอย่างไร
การตรวจค่าคลอเลสเตอรอล มีประโยชน์ในการประเมินความเสี่ยงการพัฒนาของโรคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคหัวใจ เพราะคลอเลสเตอรอลในเลือดสูงมีความเกี่ยวข้องกับภาวะโรคหลอดเลือด โรคหัวใจ และสามารถเพิ่มความเสี่ยงการเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันที่นำไปสู่การเสีย ชีวิตได้ ดังนั้นการตรวจติดตามอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นประโยชน์ในการป้องกันโรคต่างๆดัง กล่าว
ตรวจบ่อยแค่ไหน

ค่าน้อยกว่า 200 mg/dL ปกติ
ค่าช่วง 200-239 mg/dL เริ่มสูง
ค่ามากกว่าหรือเท่ากับ 240 mg/dL ความเสี่ยงสูง
โดยงดอาหารก่อนเจาะเลือด 12 ชม. [สามารถทานน้ำได้ปกติ]

1. ในทางน้อย อาจแสดงผลว่า
    • สภาวะทุโภชนาการ (malnutrition) ก็ได้
    • อาจมีเซลล์ตับตายเฉพาะส่วน
    • อาจเกิดจากสภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน (Hyperthyroidism)
2. ในทางมาก อาแสดงผลว่า
        2.1 ค่าคลอเลสเตอรอลสูง ทำให้เกิดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ
    • หากค่าคลอเลสเตอรอลต่ำกว่า 200 มิลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) มีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจน้อย
    • หากค่าคลอเลสเตอรอลอยู่ในช่วง 200-239 mg/dL ถือว่ามีความเสี่ยงปานกลางในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาตรวจค่าไขมันอื่นๆร่วมด้วยเพิ่มเติม เช่น ไขมันชนิดดี [HDL-c], ไขมันชนิดร้าย [LDL-c] และ ไตรกลีเซอไรด์ [TG] ซึ่งขึ้นกับผลการตรวจและความเสี่ยงอื่นๆที่ท่านมี
    • หากค่าคลอเลสเตอรอลมากกว่าหรือเท่ากับ 240 mg/dL ถือว่ามีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาตรวจค่าไขมันอื่นๆร่วมด้วยเพิ่มเติม เช่น ไขมันชนิดดี [HDL-c], ไขมันชนิดร้าย [LDL-c] และ ไตรกลีเซอไรด์ [TG] เพื่อบ่งชี้ที่มาของระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง และประเมินการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
        2.2 นอกจากนั้นอาจแสดงผลว่า
    • อาจกำลังเกิดโรคตับอักเสบ (Hepatitis)
    • อาจกำลังเกิดปัญหาท่อในถุงน้ำดีอุดตัน
    • อาจเกิดสภาวะโรคไต (Nephrotic syndrome)
    • อาจเกิดสภาวะดีซ่านจากถุงน้ำดีอุดตัน (Obstructive jaundice)
    • อาจเกิดจากโรคตับอ่อนอักเสบ









Post a Comment

[video]youtubeorvimeovideolink[/video]
[img]yourimagelink[/img]

 
Top