GuidePedia
l

0

มี ผลการวิจัยออกมาว่า ส่วนคนทั่วไปถ้ารับประทานอาหารกล่องโฟมทุกวัน วันละอย่างน้อย 1 มื้อ ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงกว่าคนปกติถึง 6 เท่า และเป็นสารก่อมะเร็งถึง 3 ชนิด
          นพ.วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ บริษัทบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า กล่องโฟมที่ใช้ตามท้องตลาดทั่วไป (Styrofoam) เป็นของเสียเหลือทิ้งสีดำๆ จากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ประกอบด้วย สารสไตรีน (Styrene) มีโครงสร้างโมเลกุลคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิง
          อาหาร ตามสั่งที่บรรจุกล่องโฟม จึงเป็นแหล่งสะสมสารสไตรีน ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ทำให้ สมองมึนงง สมองเสื่อมง่าย หงุดหงิดง่าย มีผลทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ และเป็นสารก่อมะเร็งอีก 3 ชนิด ถ้าเป็นผู้ชายรับประทานเข้าไปมากๆ มีโอกาสเสี่ยงเป็น โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ขณะที่ผู้หญิงมีโอกาสเป็น มะเร็งเต้านม และทั้งสองเพศมีโอกาสสูงต่อการเป็น มะเร็งตับ แม้จะไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำก็ตาม
          สำหรับ “สไตรีน” ถือเป็นสารอันตรายที่สหรัฐฯ เพิ่งประกาศขึ้นบัญชีสารก่อมะเร็ง หญิงมีครรภ์ที่รับประทานอาหารบรรจุในกล่องโฟม ลูกมีโอกาสสมองเสื่อมเป็นเอ๋อ อวัยวะบางส่วนพิการ ส่วนคนทั่วไปถ้ารับประทานอาหารกล่องโฟมทุกวัน วันละอย่างน้อย 1 มื้อ ติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งสูงกว่าคนปกติถึง 6 เท่า
ทั้งนี้ ผู้บริโภคมีโอกาสได้รับสารสไตรีนในกล่องโฟมได้ง่ายถึง 5 ปัจจัยได้แก่
          1. อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นหรือเย็นลง ทำให้สไตรีนซึมเข้าสู่อาหารได้สูง
          2. ถ้าปรุงอาหารโดยใส่น้ำมัน น้ำส้มสายชูแอลกอฮอล์ จะดูดสารสไตรีนจากกล่องโฟมได้มากกว่าปกติ
          3. ถ้าซื้ออาหารใส่กล่องทิ้งไว้นานๆ ไม่ได้รับประทาน อาหารจะดูดสารสไตรีนได้มาก
          4. ถ้านำอาหารที่บรรจุโฟมเข้าไมโครเวฟ สไตรีนจะไหลออกมาในปริมาณมาก
          5. ถ้าอาหารสัมผัสพื้นที่ผิวกล่องโฟมมากๆ รวมถึงร้านไหนตัดถุงพลาสติกใสรองอาหาร ขอบอกว่าได้รับสารก่อมะเร็ง 2 เด้ง ทั้งสไตรีนและไดออกซินจากถุงพลาสติกเลยทีเดียว
          นพ.วีร ฉัตร กล่าวด้วยว่า อาหารตามสั่งหรือข้าวราดแกงกับไข่ดาวหรือไข่เจียวร้อนๆ อาจจะไปละลายผนังกล่องโฟม เสมือนรับประทานอาหารคลุกสไตรีนไปด้วย ถึงกระนั้นไข่ดิบที่วางขายในแผงไข่พลาสติก สารสไตรีนมีโอกาสวิ่งเข้าในเปลือกไข่ได้เช่นกัน ถ้าเลือกไข่ดิบควรเลือกซื้อจากแผงไข่กระดาษจะปลอดภัยที่สุด


สารสไตรีน (Styrene)
                สาร เบนซีน และสารอนุพันธ์ของเบนซีน จัดเป็นสารเคมีอันตรายในกลุ่มสารทำละลายอินทรีย์ที่ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยง ที่นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้าง ซึ่งทำงานสัมผัสหรือเกี่ยวข้องตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง “กำหนดสารเคมีอันตรายที่ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง พ.ศ. ๒๕๕๒”
                สารเบนซีนและอนุพันธ์ของเบนซีน เป็นสารในกลุ่มอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Aromatic Hydrocarbons) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีลักษณะโครงสร้างทางเคมีที่มีคาร์บอนต่อกันเป็นวงแหวนเบน ซีน (Benzene Ring) อันได้แก่ เบนซีน (Benzene) โทลูอีน (Toluene) ไซลีน (Xylene) สไตรีน (Styrene) เป็นต้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะสารสไตรีน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้ในการผลิตโพลีสไตรีน และสารโคโพลีเมอร์ (Poly Styrene & Copolymer) เช่น ยางสังเคราะห์ต่างๆ ไฟเบอร์ และฉนวนกันความร้อน เป็นต้น
                สารสไตรีนมีคุณสมบัติเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่นหอมหวาน มีลักษณะเหนียวข้นเหมือนน้ำเชื่อม ระเหยง่าย และติดไฟง่าย
 
สารสไตรีนการเข้าสู่ร่างกาย
                สารสไตรีนสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ ๓ ทาง ได้แก่ทางหายใจ ทางผิวหนัง และทางเดินอาหาร
 ความเป็นพิษของสารสไตรีน
                มี การทำลายไขกระดูก ทำลายตับ และไต ทำให้ผิวหนังแห้ง แตก ความจำเสื่อม สมาธิสั้น มีผลต่อระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย โดยมีผลทำให้การเคลื่อนไหวและการทรงตัวไม่ดี เนื่องจากลดการประสานงานของกล้ามเนื้อ มีผลต่อการเต้นของหัวใจ
                เป็นสารก่อกลายพันธุ์ และเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ได้ โดยอาจก่อให้เกิดมะเร็งเส้นเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้
๑.   ตรวจ Mandalic Acid และ Phenylglyoxylic Acid ในปัสสาวะ เมื่อสิ้นสุดการทำงาน ต้องไม่เกิน ๔๐๐ มิลลิกรัมต่อกรัม ครีอะตินีน
๒.    สารสไตรีน (Styrene) ในเลือด เมื่อสิ้นสุดการทำงานต้องไม่เกิน ๐.๒ มิลลิกรัมต่อลิตร
การตรวจสุขภาพคนงานที่เกี่ยวข้อง
                พิจารณาตรวจร่างกายคนงานที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารสไตรีน โดยการตรวจร่างกายก่อนรับเข้าทำงาน และระหว่างการทำงาน ตรวจจากปัสสาวะโดยหาปริมาณ Mandalic Acid บวก Phenylglyoxylic Acid ในปัสสาวะเพื่อเทียบค่ามาตรฐานที่กำหนดข้างต้น
                ตรวจจากเลือดโดยการหาปริมาณสารสไตรีนในเส้นเลือดเปรียบเทียบค่าที่ได้กับค่ามาตรฐาน

Post a Comment

[video]youtubeorvimeovideolink[/video]
[img]yourimagelink[/img]

 
Top