
เราควรจะวัดความดัน เมื่อมีอาการ
3. เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือร่าวกายได้รับบาดเจ็บ อาจพบความดันต่ำในคนที่มีอาการตกเลือดจนเกิดภาวะ “ช็อค”
4. ถึงแม้จะไม่มีอาการผิดปกติอะไรก็ควรจะตรวจวัดความดันเลือด ปีละ 1-2 ครั้ง โดยเฉพาะในคนที่มีอายุ มากกว่า 40 ปีขึ้นไป เพราะคนที่เป็นความดันเลือดสูง บางครั้งอาจไม่มีอาการอะไรมากก่อนเลยก็ได้
ขั้นตอนการวัดความดันโลหิต
1. นั่ง หรือ นอนพัก ให้สบาย หายตื่นเต้น ประมาณ 5-10 นาที
2. - วัดความดันท่านอน ให้นอนหงาย วางแขนขนานกับลำตัวตามสบาย หงายฝ่ามือขึ้น
- วัดความดันท่านั่ง นั่งบนเก้าอี้ วางแขนที่จะวัดบนโต๊ะ หงายฝ่ามือขึ้น ท่านี้สะดวกในการวัดความดันด้วยตัวเอง
3. วางเครื่องวัดความดัน ให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ หันหน้าปัทม์ที่อ่านให้อยู่ในระดับเดียวกับสายตา ไม่ควรวางไกลเกิน 3 ฟุต
4. พันผ้ารอบแขน โดยจับปลายด้านที่มีสายยาง วางบนแขนด้านชิดกับลำตัว แล้วจึงพันส่วนที่เหลือไปเรื่อยๆ จนรอบแขน ให้ขอบล่างของผ้าพันแขน อยู่เหนือข้อศอกประมาณ 2 นิ้ว กรณีที่สวมเสื้อมีแขน ให้พับแขนเสื้อข้างนั้นขึ้นเหนือข้อศอก ประมาณ 5 นิ้ว ก่อนพันผ้าพันแขน
5. กดปุ่ม START/STOP บนเครื่องวัดความดัน รอจนตัวเลขหยุดลงแล้วจึงอ่านค่า
6. ภายหลังที่วัดความดันครั้งแรก แล้ว เพื่อความแน่นอนให้วัดซ้ำดูอีกครั้ง โดยเฉพาะถ้าพบว่า ความดันสูงหรือต่ำกว่าปกติ

Systolic คือ ตัวเลขตัวบนซึ่งมีค่ามากกว่า เป็นการวัดค่าความดันของหลอดเลือดแดงในขณะที่หัวใจบีบตัว Diastolic คือ ตัวเลขตัวล่างซึ่งมีค่าน้อยกว่า เป็นการวัดค่าความดันในหลอดเลือดแดงในขณะที่หัวใจคลายตัว Pulse rate คือ อัตราการเต้นของหัวใจใน 1 นาที ค่าความดันโลหิตของเด็กจะขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และส่วนสูง โดยสามารถแบ่งตามช่วงอายุได้ ดังนี้
ค่าความดันโลหิตของเด็กจะขึ้นอยู่กับอายุ เพศ และส่วนสูง โดยสามารถแบ่งตามช่วงอายุได้ ดังนี้
ค่าความดันโลหิต
|
อายุ 3-5 ปี
|
อายุ 6-9 ปี
|
อายุ 10-12 ปี
|
---|---|---|---|
Systolic (ตัวบน)
|
104-116 mmHg
|
108-121 mmHg
|
114-127 mmHg
|
Diastolic (ตัวล่าง)
|
63-74 mmHg
|
71-81 mmHg
|
77-83 mmHg
|
ค่าความดันโลหิต
|
ปกติ
|
ระยะก่อนที่จะเป็นความดันโลหิตสูง
|
ความดันโลหิตสูง ระยะที่ 1
|
ความดันโลหิตสูง ระยะที่ 2
|
---|---|---|---|---|
Systolic (ตัวบน)
|
น้อยกว่า 120 mmHg
|
120-139 mmHg
|
140-159 mmHg
|
สูงกว่า 160 mmHg
|
Diastolic (ตัวล่าง)
|
น้อยกว่า 80 mmHg
|
80-89 mmHg
|
90-99 mmHg
|
สูงกว่า 100 mmHg
|
หากวัดความดันโลหิตแล้วอยู่ในช่วงที่สูงกว่าค่าปกติเพียงครั้งเดียว จะยังไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่หากมีการวัดความดันโลหิต 3 ครั้ง ในโอกาสที่แตกต่างกันแล้วยังได้ค่าที่สูงกว่าปกติทั้ง 3 ครั้ง ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาต่อไป หากวัดความดันโลหิตแล้วอยู่ในช่วงที่ต่ำกว่าค่าปกติ ควรพักผ่อนให้เพียงพอ แต่หากความดันต่ำมาก โดยค่าตัวบน-ตัวล่างต่างกันน้อยกว่า 30 (เช่น 80/60 ค่าต่างกัน 20) ควรรีบนำเด็กส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
Post a Comment
[video]youtubeorvimeovideolink[/video]
Emoticon[img]yourimagelink[/img]
Click to see the code!
To insert emoticon you must added at least one space before the code.